การดุแลตนเองสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคลมชัก

การดุแลตนเองสำหรับหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคลมชัก

โอกาสที่ผู้ป่วยหญิงโรคลมชักตั้งครรภ์ จะต่ำกว่าผู้หญิงทั่วไป อาจเนื่องจากโอกาสแต่งงานต่ำ เพราะคนส่วนใหญ่ยังมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ป่วยโรคลมชัก โดยครอบครัวมักไม่อนุญาตให้สมาชิกในครอบครัวแต่งงานกับผู้ป่วยโรคลมชัก โรคลมชักที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ การรับประทานยากันชักก็ส่งผลต่อโอกาสการตั้งครรภ์

สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ

– ต้องทานยากันชักต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยากันชักโดยเด็ดขาด
– ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลทั้งที่รักษาโรคลมชัก และสูติแพทย์ให้ถูกต้อง
– หลีกเลี่ยงปัจจัยที่จะกระตุ้นให้เกิดการชักขณะตั้งครรภ์
– นัดตรวจฝากครรภ์กับสูติ-นรีแพทย์ อายุรแพทย์ และ/หรือทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลรักษาเรื่องโรคลมชักอย่างใกล้ชิดทุก 1 เดือน
– ไม่ควรฝากครรภ์ที่คลินิกแพทย์ส่วนตัว ควรเข้ามาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลที่มีความพร้อมจะดีกว่า
– ควรปรึกษาแพทย์ในเรื่องการวินิจฉัยความผิดปกติของทารกในครรภ์ก่อนคลอด
– ปฏิบัติตามเมื่อแพทย์แนะนำการตรวจวัดระดับยาและปรับขนาดยากันชักถ้ายังควบคุมอาการชักไม่ได้ หรือระดับยากันชักสูงเกินระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ให้มั่นใจว่าสามารถตั้งครรภ์และสามารถคลอดบุตรได้ตามปกติ ซึ่งประมาณ 95% ของบุตรที่คลอดจะปกติดี

การปฏิบัติตัวด้านอื่นๆก็เหมือนกับแม่ที่ตั้งครรภ์ทั่วไป แต่ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรอดนอน ห้ามขาดยากันชัก กรณีที่มีอาการผิดปกติทั้งแม่ที่ตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ เช่น แม่มีอาการชักบ่อยครั้ง หรือการชักแต่ละครั้งชักนานมากกว่าเดิม ล้มลงกับพื้นขณะชัก และ/หรือได้ รับอุบัติเหตุจากการชัก หรือทารกในครรภ์ไม่ดิ้นหรือดิ้นลดลงมากๆ ควรต้องรีบมาพบแพทย์ก่อนนัด ไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด

ผู้ป่วยหญิงโรคลมชัก สามารถแต่งงาน มีเพศสัมพันธ์ ตั้งครรภ์ได้เช่นเดียวกับหญิงทั่ว ไป เพียงแต่ต้องได้รับการวางแผนการรักษาและได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งต้องได้รับการอธิบายถึงประเด็นต่างๆที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมการชัก ผลของการชักต่อการตั้งครรภ์ ผลของยากันชักและผลของการชักต่อทารกในครรภ์ ผู้ป่วยต้องได้รับการดู แลรักษาอย่างใกล้ชิดตลอดระยะเวลาที่รักษาโรคลมชัก ทั้งก่อนตั้งครรภ์ ขณะตั้งครรภ์ และหลังคลอด ไม่ควรหยุดยากันชักเองโดยเด็ดขาด ควรพบแพทย์ตามนัด และถ้ามีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ควรต้องรีบพบแพทย์ก่อนนัดเสมอ