การเตรียมผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

การเตรียมผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นเรื่องจำเป็นมาก เพราะต้องเป็นผู้มีเวลาให้กับผู้ป่วย มีความเมตตาต่อผู้ป่วย และเป็นผู้ที่ทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และทีมแพทย์/พยาบาลไว้ใจได้

ผู้ดูแลที่ดีที่สุด ควรเป็นญาติผู้ใกล้ชิดซึ่งจะมีความสำคัญต่อผู้ป่วย เนื่องจากรับรู้ข้อมูลในการรักษาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้ที่ผู้ป่วยให้ความไว้ใจได้ ในส่วนผู้ดูแลเอง ก็จะมีปัญหาจากการเหนื่อยล้าในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้น การเป็นญาติจึงช่วยผ่อนคลายปัญหาทั้งกับผู้ป่วยและผู้ดูแลลงได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีญาติ คงต้องหาจากสถานฝึกอบรมการพยาบาลต่างๆ และค่อยๆเลือกดูคุณสมบัติของผู้ดูแล ซึ่งควรต้องเริ่มหาผู้ดูแลตั้งแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ควรต้องดูแลทั้งผู้ป่วย และผู้จะมาดูแลผู้ป่วย ซึ่งการดูแล หรือ การเตรียมผู้จะมาดูแลผู้ป่วยที่สำคัญ คือ ให้ความรู้ในเบื้องต้นเรื่องโรค และอาการของผู้ป่วย ระบุหน้าที่ของผู้ดูแลต่อผู้ป่วยอย่างชัดเจน ให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับภาระงาน รวมทั้งมีเวลาให้ผู้ดูแลได้พักผ่อนตามควร อาจต้องช่วยแก้ ปัญหาในครอบครัวของผู้ดูแล เพื่อช่วยให้มีเวลาในการดูแลผู้ป่วย และควรให้ผู้ดูแลมีความเข้าใจว่า เป็นการดูแลเพื่อคงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจากโรคที่คุกคามต่อชีวิต โดยให้การป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว ดยใช้การดูแลปัญหาสุขภาพทุกด้านไปพร้อมกัน ได้แก่ กาย ใจ จิตวิญญาณ และครอบครัวผู้ป่วย

แท็บเล็ตต้องEasy To Connect: เชื่อมต่อง่าย ไร้ข้อจำกัด

Easy To Connect: เชื่อมต่อง่าย ไร้ข้อจำกัด

แท็บเล็ตที่ไม่มีช่อง USB ก็เหมือนแท็บเล็ตที่กำแพงครอบ เพราะการเชื่อมต่อผ่าน USB จะทำให้โอนถ่ายข้อมูลได้ง่ายกว่า เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วโยนไฟผ่าน My Computer ได้เลย แถมยังต่อกับ USB Connector เพื่อดึงข้อมูลจาก SD Card ได้ด้วย ใช้คู่กล้องดิจิตอลหรือมือถือได้สะดวก ทุกที่ทุกเวลา ไม่ต้องเสียเวลา sync ข้อมูลให้ยุ่งยาก ซึ่งทำให้ข้อมูลสูญหายได้ง่าย

Phone capabilities: โทรออกได้

มีแท็บเล็ตที่โทรออกได้ก็เหมือนได้ประโยชน์สองต่อ แท็บเล็ตที่มีฟังก์ชั่นการโทรออก-รับสาย จะทำให้คุณทำงานได้คล่องตัวขึ้น ไม่ต้องพกทั้งมือถือ ทั้งแท็บเล็ตให้วุ่นวาย หรือจะใช้แยกเบอร์ติดต่อเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวก็ดีไปอีกแบบ

ใช้ถุงมือผ้าป้องกันในการทำงาน

ใช้ถุงมือป้องกัน อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Gloves) เป็นเครื่องมือป้องกันไม่ให้มือและนิ้วได้รับบาดเจ็บ โดยถุงมือป้องกันเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกัน แต่ถ้าใช้ไม่ระวังถุงมือก็อาจทำร้ายผู้สวมได้ ยกตัวอย่างเช่น ถุงมือที่ขาดชำรุด อาจพันติดเข้ากับเครื่องจักรแล้วดึงมือผู้ปฏิบัติงานเข้าไปได้ เช่น สว่านเจาะ, เครื่องไส หรือเครื่องกลึง เป็นต้น หรือเมื่อต้องทำงานซึ่งสัมผัสกับความร้อนสูง ๆ แต่เลือกใช้ถุงมือซึ่งมีความสามารถในการทนความร้อนได้ไม่ครอบคลุมกับงานที่ทำ เมื่อใช้งานนาน ๆ ไประดับการป้องกันของถุงมือก็จะลดน้อยลง นั่นหมายถึงถุงมือผ้ากำลังเสื่อมสภาพและอาจทำให้ผู้ใช้ได้รับ
การบาดเจ็บได้

ถุงมืออุตสาหกรรม (Industrial Gloves) ถูกนำมาใช้ในจุดประสงค์เพื่อการป้องกันให้กับผู้ปฏิบัติงาน และยิ่งในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีของวัสดุวิศวกรรมช่วยทำให้เกิดถุงมือป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูง และได้รับการออกแบบสร้างมาให้เหมาะกับงานเฉพาะด้าน ดังนั้น ถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราจะหันมาสนใจเลือกใช้ถุงมือชนิดต่าง ๆ ให้เหมาะกับประเภทงานและการป้องกัน

ถุงมือป้องกันบางชนิดมีอายุการใช้งานเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ หรือเป็นแบบใช้ครั้งเดียวแล้วต้องเปลี่ยนใหม่ การนำกลับมาใช้ ใหม่จึงอาจไม่สามารถรักษาระดับการป้องกันได้เท่าเดิม เช่น ถุงมือที่ใช้ป้องกันสารเคมี เมื่อใช้ไปนาน ๆ โอกาสที่สารเคมีทำปฏิกิริยากับถุงมือก็เกิดขึ้นได้ เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนจึงควรเปลี่ยน