วัสดุที่ใช้ในการออกแบบบ้านเรือนไทย

การวางผังและออกแบบแปลนตัวเรือนที่ทำให้เรือนไทยของเรามีเอกลักษณ์ ได้แก่การออกแบบบ้านหลังคาให้สูงโปร่ง มีระเบียงและชานเล่นระดับสูงต่ำและวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง เช่น ประตู หน้าต่าง ลูกกรง ช่องลม เป็นองค์ประกอบของเรือนไทยที่เน้นในเรื่องความโปร่งโล่ง ให้แสงและลมเข้าได้ ฝาผนังเป็นไม้ ซึ่งเป็นวัสดุที่เป็นฉนวนอันเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เรือนไทยเย็น โดยตัวเรือนบ้านจะกำหนดเป็นห้องเพียง 1-2 ห้อง ใช้สำหรับเก็บของมีค่า เก็บเสื้อผ้า เป็นบริเวณแต่งตัว เป็นที่นอนของลูกๆที่โตแล้ว หรือกั้นเป็นห้องพระ เรือนนี้กำหนดเป็นเรือนใหญ่ เรือนเล็กมักเป็นเรือนตรงข้ามเรือนใหญ่กั้นด้วยชาน (นอกชาน)

สำหรับเป็นเรือนนอนของลูกชายคนโตในกรณีที่มีครอบครัวหรือเพื่อความเป็นสัดส่วน แบบบ้านเรือนที่สามก็คือเรือนครัว มักวางผังตั้งฉากกับเรือนใหญ่ มีชานเป็นตัวเชื่อมเช่นกันจะใช้เป็นห้องอาหารด้วย ในเวลากลางวันจะอยู่อาศัยที่ระเบียงซึ่งมีหลังคาคลุมกันแดด แต่ไม่มีผนัง ทำให้สว่างและรับลมที่ผ่านชานเข้ามา และเมื่อแดดร่มก็จะใช้ชานสำหรับทำงานบ้านและอยู่อาศัยปกติ บริเวณทั้งสองนี้จึงไม่ร้อน เนื่องจากเป็นการใช้ตามสภาพแดดลม ในขณะที่เมื่อพลบค่ำก็จะอยู่อาศัยที่ระเบียงและเข้าเรือนนอน

แนวการวางตัวเรือนจะวางตามความยาวในทิศทางตามตะวันเพื่อรับลมที่มาจากทิศใต้ สำหรับวัสดุก่อสร้างบ้านเรือนไทย ที่ทำให้เรือนไทยเย็นก็คือ ไม้ แบบบ้านซึ่งเป็นวัสดุท้องถิ่นที่หาง่ายและมีมากที่สุด เพราะไม้เป็นฉนวน คือเป็นตัวนำความร้อนที่เลวและไม้ก็ไม่อมความร้อนเท่าคอนกรีต เมื่อพลบค่ำความร้อนจึงไม่ได้ถูกส่งผ่านเข้าภายในห้อง และไม่มีความร้อนมากมายที่จะกระจายออกจนทำให้ห้องร้อน บ้านเรือนไทยจึงเย็น